วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาโครงงานตัวอย่าง

ตัวอย่างโครงงานเรื่อง เกมผจญภัยแนวใหม่ ร่วมสร้างใจให้เป็นหนึ่ง
ความเป็นมาของโครงงาน
                โลกในยุคปัจจุบัน แทบจะเรียกได้ว่าเกมเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตในหมู่เด็กๆ รวมทั้ง เยาวชนเลยทีเดียว เนื่องจากเกมเป็นสิ่ง ที่ หาซื้อและเข้า ถึงได้ไม่ยาก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราจะต้องเลือกสรรเล่นเกมที่มีคุณภาพ และให้ประโยชน์กับผู้ล่นเกม สมาชิกในโครงงานเล็งเห็นถึงความสำคัญในจุดนี้ จึงมีความคิดที่จะพัฒนาเกมที่สร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์กับเยาวชน โดยในโอกาสนี้จะมุ่งเน้นถึงการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ผ่านเกมคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบเกม RPG นอกจากนี้ เนื่องจากมี สมาชิกในกลุ่มหลายคน มีความสนใจในการเล่นเกมที่มีลักษณะต้องแก้ปริศนา และมีความตั้งใจว่าจะพัฒนาเกมที่สร้างสรรค์จากจินตนาการของตนเองขึ้นมาเกมหนึ่งเมื่อมีโอกาสอีกทั้งมีสมาชิกในกลุ่มหลายคนเช่นกัน ที่มีความสามารถพื้นฐานทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นทุนเดิมอยู่ด้วยแล้ว สมาชิกในกลุ่มจึงเห็นพ้องต้องกันว่าไม่ใช่เรื่องยากที่จะนาการพัฒนาเกม มาจัดทาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ ตลอดจนสามารถดาเนินการสร้างเกมได้อย่างเสร็จสิ้น ตามระยะเวลาที่มีได้อย่างเหมาะสมเกมที่มีคุณภาพตามความหมายของโครงงานนี้ ครอบคลุมถึงขอบเขตเฉพาะเกมที่มีลักษณะประเทืองปัญญามุ่งเน้นเสริมสร้างประโยชน์ให้กบผู้เล่นมากกว่าความรุนแรงแต่ยังความสนุกสนานไว้เกมเหล่านี้ มีอยู่อย่างพอสมควรในปัจจุบัน แต่หลายเกมก็ยงพัฒนาไม่น่าสนใจพอด้วยเหตุน จึงนาไปสู่ ที่มาของการสร้างสรรค์โครงงานนี้ขึ้นด้วยความสำคัญที่เยาวชนจะต้องเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ทาให้พวกเขาต้องเดินผิดทาง อนาคตของพวกเขาก็เหมือนอนาคตของชาติ เราจึงจะวางเฉยไม่ได้เลยหากเขามีแนวความคิดที่ผิด เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเกมที่มีคุณภาพตามความหมายของโครงงานที่เราได้พัฒนานี้ พอจะเป็นเครื่องมือที่สร้างความสนใจให้กับเยาวชน และเหล่าสมาชิกภายในห้องของสมาชิกผูจดทาเองได้ไม่มากก็น้อย
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เป็นตัวเลือกหนึ่งในการพิจารณาเลือกเกมที่ให้ความเพลิดเพลินและฝึกการคิด
2. เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความสามัคคีกนมากยิงขึ้น
3. เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ขอบเขตของโครงงาน
สมมุติฐานของการดำเนินการ
 -
ขอบเขตของการดำเนินการ
                ศึกษาเฉพาะการสร้างเกมโดยใช้โปรแกรม RPG MAKER เท่านั้น โดยเน้นไปถึงคุณสมบัติหลักของโปรแกรม ไม่ครอบคลุมถึงการใช้เทคนิคขั้นสูงของโปรแกรม
 เอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.เกมออนไลน์
2.เกมออฟไลน์
วิธีดำเนินการ
                สมาชิกจะออกความเห็นและช่วยกันระดมความคิดภายในกลุ่มว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ 1 พ.ย. 2553ตรงกับจุดมุ่งหมายของเกมหรือไม่และสามารถนำความคิดนี้ ไปสร้างสรรค์ภายในเกมได้จริงตามความสามารถของโปรแกรมได้หรือไม่ จึงทาให้เรา พบว่าความสามารถของโปรแกรมมีจากัด เช่น สามารถแสดงผลได้เฉพาะเกมสองมิติเท่านั้น สรุปความคิดเห็นทั้งหมดและอธิบายให้รับทราบ20 พ.ย. 2553 ทัวกัน โดยหัวหน้ากลุ่มจะเป็นผู้สรุปความคิดรวบยอดให้สมาชิกทุกคน และเข้าใจร่วมกัน หัวหน้ากลุ่มดาเนินการมอบหมายงานตามที่ สมาชิกแต่ละคนถนัด และเหมาะสมในหน้าที่ต่างๆ21 พ.ย. 2553  พร้อมกับนัดหมายเวลากำหนดรวบรวมงานให้เป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน พัฒนาตัวเกม และได้ตัวเกมรุ่นทดลองรุ่นแรก สำเร็จ พบว่าเกมที่สร้างสรรค์มีขอบกพร่องที่ผู้เล่น 10 ธ.ค. 2553 สามารถดาเนินเนื้อเรื่องต่อได้แม้ไม่ได้ผ่าน เหตุการณ์สำคัญบางเหตุการณ์และแก้ไขส่วนที่เป็นข้อบกพร่องของเกมรุ่นทดลอง11 ธ.ค. 2553 และเพิ่มความสมจริงของตัวเกม โดยใส่ ภาพจริงของเพื่อนๆในห้องลงไปในตัวเกม แก้ไขและพัฒนาตัวเกมได้สำเร็จ ตัวเกมมีความ31 ธ.ค. 2553 -สมบูรณ์พร้อมการนาไปใช้ จัดทารูปเล่มรายงาน และเตรี ยมการนาเสนอผลงานม.ค. 2554 พร้อมกับมอบหมายเนื้อหา ให้ทุกคนมีส่วนร่วมใน การนาเสนอร่วมกันม.ค. 2554 เตรี ยมพร้อมการนาเสนอโครงงาน
ผลการดำเนินการ
การใช้งานโปรแกรม RPG Maker พบปัญหาของโปรแกรม RPG Maker คือไม่สามารถนาเข้าไฟล์วิดีโอได้ และพบว่าแนวการดาเนินเนื้อเรื่องได้เพียงแบบเดียวคือการดาเนินเรื่องของตัวละครเท่านั้น ไม่สามารถที่จะทาเป็นการจับมอนสเตอร์ได้ การสร้างเกมมีความยากในระดับปานกลางเพราะผู้สนใจมือใหม่ก็สามารถสร้างได้ไม่ยากนักแต่อาจจะทำได้แค่เพียง         รูปแบบง่ายๆเท่านั้นต้องศึกษาเพิ่มเติมเล็กน้อยเพื่อให้สร้างเกมที่ ลึกซึ่ง ได้มากขึ้นทำให้โปรแกรมน่าสนใจสำหรับผู้สนใจมือใหม่ส่วนของการพัฒนาเกม เนื้อหาของเกมสามารถสื่อถึงจุดมุ่งหมายของเกมได้ดี
สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
สาหรับผู้ที่สนใจมือใหม่ สามารถลองสร้างเกมได้โดยการหาโปรแกรมมาและลองสร้างแผนที่และ ตัวละครต่างๆได้เลยแต่การสร้างเหตุการณ์เน้นควรถามจากผู้ที่มีประสบการณ์หรือหาซื้อหนังสือคู่มือการใช้โปรแกรมมาอ่านเพิ่มเติม ไม่เช่นนั้นเหตุการณ์ที่สร้างอาจไม่เกิดตามที่เราต้องการทาให้เกิดข้อผิดพลาดของโปรแกรมขึ้นได้
เอกสารอ้างอิง
สมประสงค์. สร้างเกมง่ายๆสไตล์ RM2K,กรุงเทพฯ:ซี เอ็ดยูเคชั่น, 2546.
นาวิน สมประสงค์. คัมภีร์สร้างเกมด้วย RPG Maker XP,กรุงเทพฯ:ซี เอ็ดยูเคชั่น, 2548
ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงาน
-

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รายงานการเรียนรู้การใช้ซอฟแวร์สร้างสรรค์ผลงาน

เนื้อหาประกอบด้วย
ชื่อโครงงาน วัยรุ่นไทยและปัญหายาเสพติด
กลุ่มที่  9
สมาชิกกลุ่ม
นางสาว วริศรา จอมสวัสดิ์ ม.5/11 เลขที่ 23
นางสาว ณัฐกุล บุญญา ม.5/11 เลขที่ 35
นางสาว สิรินทิพย์ บุญญานุกูล ม.5/11 เลขที่39
วิธีดำเนินการ
1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มตนเองสนใจ คือเรื่อง วัยรุ่นไทยกับปัญหายาเสพติด
3. ศึกษาการใช้โปรแกรมในการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ กับอาจารย์ที่ปรึกษา
4. ศึกษาการใช้โปรแกรม Adobe Flash CS3 เพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต
5. นำความรู้ที่ได้ศึกษามาฝึกฝนและปฏิบัติ
6. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มตนเองสนใจ และโพสลงเว็บบล็อกของตนเอง เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจ
7. สร้างวิธีการใช้งานโปรแกรมลงในเว็บบล็อกของสมาชิกในกลุ่ม
8. นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ แก่ครูที่ปรึกษาผ่านทางเว็บบล็อกของสมาชิกในกลุ่ม
ผลการดำเนินการ (สรุปความรู้ที่ได้)
                จากการเรียนรู้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมทำให้
1.รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม
2.รู้จักศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ และผู้ที่มีความรู้
3.รู้วิธีการสร้างเว็บ blog
4.มีความรู้เพิ่มเติมในการสร้างเกม สร้างภาพการ์ตูน และสร้าง background กราฟิกสวย ๆ
5. รู้วิธีการใช้โปรแกรม Adobe flash CS3 เบื้องต้น เช่น การสร้าง file, ส่วนประกอบจอภาพการทำงาน, บันทึกไฟล์เปิดไฟล์และปิดไฟล์  เป็นต้น
6. สามารถสร้างเกมด้วยโปรแกรม Adobe flash CS3 ได้
7. สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้และเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้
แหล่งเรียนรู้
1.อาจารย์กิตติมา เพชรทรัพย์
2.นายกษิน แย้มศรี
3.YouTube
4.เว็บไซต์การใช้โปรแกรม Adobe flash CS3

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สาธิตการใช้ซอฟแวร์

สาธิตการใช้ซอฟแวร์ : โปรแกรมAdobe flash CS3
การดาวน์โหลดโปรแกรม  flash!!
ขั้นตอนที่ 1  พิมพ์ Google ว่า  “Adobe flash CS3”

ขั้นตอนที่ 2  เลื่อนลงมาที่

ขั้นตอนที่ 3  คลิ๊กเข้าไป แล้วเลื่อนลงมาจนเจอหน้าแบบนี้  
จากนั้นก็คลิ๊กที่เว็บเพื่อดาวน์โหลด
ขั้นตอนที่ 4  จากนั้นจะเห็นหน้าแบบนี้ แล้วคลิ๊กที่ Download
จะเห็นว่าดาวน์โหลดอยู่
ขั้นตอนที่ 5 เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ก็กดเข้าไปในไฟล์ Downloads แล้วเลือกไฟล์ที่เราได้ดาวน์โหลดมา จากนั้นก็คลิ๊กเข้าไป แล้วก็จะขึ้น
จากนั้นก็คลิ๊ก……
จากนั้นก็จะขึ้นเป็นดังภาพ แล้วกดกากบาทได้เลย
ขั้นตอนที่ 6  คลิ๊กเข้าไปเพื่อติดตั้ง
จากนั้นโปรแกรมก็โหลดเพื่อใช้งาน
และปรากฏโปรแกรมในที่สุด
การเรียกใช้โปรแกรม flash!!

ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากการคลิ๊กปุ่ม     จากนั้นก็เลื่อนไปคลิ๊กที่รายการ  “Adobe Flash CS3  Professional” รอสักครู่ก็ประกฎหน้าต่างการทำงาน



จากนั้นก็เลือกการสร้างผลงานใหม่ของ Flash จากรายการ Create New Flash File จะปรากฏส่วนประกอบจอภาพการทำงานดังนี้
ส่วนประกอบจอภาพการทำงานดังนี้
- แถบเครื่องมือ (Toolbox)
กลุ่มเครื่องมือสร้างงานและจัดการวัตถุ ประกอบด้วยปุ่มเครื่องมือย่อยต่างๆ สามารถเปิด/ปิดด้วยคำสั่ง Window, Tools โดยสามารถแบ่งเครื่องมือเป็นหมวด ๆ ได้ 5 หมวด คือ เครื่องมือหมวดเลือกวัตถุ(Selection) เครื่องมือหมวดวาดภาพ (Drawing) เครื่องมือจัดแต่งวัตถุ (Modify) เครื่องมือควบคุมมุมมอง (View) และเครื่องมือควบคุมสี (Color)


- Document Tab
ส่วนควบคุมเอกสาร สามารถคลิกเพื่อสลับเปลี่ยนจอภาพเอกสาร
- Timeline & Layer
Timeline : เป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ควบคุมการนำเสนอผลงาน สามารถเปิด/ปิดด้วยคำสั่ง Window, Timeline
Layer : ส่วนควบคุมการสร้างชั้นวัตถุ เพื่อให้การควบคุมวัตถุแต่ละชิ้น มีอิสระ และสะดวก
ต่อการแก้ไข ปรับแต่ง
- Panel
หน้าต่างเล็กๆ ที่ทำหน้าที่แสดงคำสั่งควบคุมย่อยต่างๆ ของโปรแกรม โดยจะปรากฏรายการคำสั่งในเมนู Window
- ควบคุม Panel
Panel เป็นจอภาพเล็กๆ ที่แสดงฟังก์ชันการทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การทำงานเกี่ยวกับสีจะควบคุมด้วย Color Mixer หรือ Color Swatches การจัดตำแหน่งวัตถุต่างๆ ควบคุมด้วย Align Panel เป็นต้น การเรียกใช้หรือเปิด/ปิด Panel จะใช้คำสั่ง Window แล้วตามด้วยชื่อ Panel นั้นๆ
ขั้นตอนที่ 2
สร้างภาพกราฟิกต่างๆ โดยใช้เครื่องมือกราฟิกจากชุดเครื่องมือ Toolbox โดยมีเครื่องมือหลายกลุ่ม และเปิด/ปิด Toolbox ได้จากเมนูคำสั่ง Window, Tools
ขั้นตอนที่ 3  บันทึกไฟล์
ภาพที่วาดที่สร้างเสร็จแล้ว หรือปรับแต่งแก้ไขแล้ว ควรบันทึกไฟล์เก็บไว้ทุกครั้ง โดยไฟล์ต้นฉบับจะได้ส่วนขยายเป็น .fla การบันทึกไฟล์สามารถใช้คำสั่ง File, Save… หรือ File, Save As…
จุดสังเกต!! ว่าไฟล์ได้ผ่านการบันทึกแล้วหรือไม่ ก็ดูได้จากชื่อไฟล์ใน Title Bar หากมีเครื่องหมาย * แสดงว่ายังไม่ผ่านการบันทึก
***
เปิดไฟล์
การเปิดไฟล์ภาพใช้คำสั่ง File, Open... หรือคลิกปุ่ม Open จากMain Toolbar นอกจากนี้ยังสามารถเลือกไฟล์ที่เคยเปิดได้จากเมนูคำสั่ง File, Open Recent
การคืนสู่สภาพเดิม (Revert)
ไฟล์ที่กำลังแก้ไข ถ้าต้องการคืนกลับสู่สภาพก่อนการแก้ไข ใช้คำสั่ง File, Revert
ปิดไฟล์
ไฟล์ที่สร้าง หรือเปิดอยู่ หากต้องการปิดไฟล์ สามารถใช้คำสั่ง File, Close หรือ File, Close All ทั้งนี้ไฟล์ที่ยังไม่ได้ผ่านการบันทึก โปรแกรมจะแสดงกรอบเตือน ถ้าต้องการบันทึกไฟล์ก่อนปิด ก็คลิกปุ่ม Yes เพื่อเข้าสู่โหมดการบันทึกไฟล์ แต่ถ้าต้องการปิดไฟล์โดยไม่บันทึกก็คลิกปุ่ม No หรือคลิกปุ่ม Cancel เพื่อยกเลิกการปิดไฟล์ กลับสู่จอภาพสร้างงานตามปกติ

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

10 ประการห่างไกลยาเสพติด

หลักในการหลีกเลี่ยงและป้องกันการติดสิ่งเสพย์ติด 

1. เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู และคนอื่นๆ ที่น่านับถือและหวังดี (จริงๆ) 
2. เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาครอบครัว ครู หรือผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ไม่ควรเก็บปัญหานั้นไว้หรือหาทางลืมปัญหาโดยใช้สิ่งเสพย์ติดช่วยหรือ ใช้เพื่อเป็นการประชด 
3. หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากผู้ติดสิ่งเสพย์ติด หรือผู้จำหน่ายสิ่งเสพย์ติด 
4. ถ้าพบคนกำลังเสพสิ่งเสพย์ติด หรือจำหน่ายให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ 
5. ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพย์ติด เพื่อจะได้ป้องกันตัวและผู้ใกล้ชิดให้ห่างจากสิ่งเสพย์ติด 
6. ต้องไม่ให้ความร่วมมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับเพื่อนที่ติดสิ่งเสพย์ติด เช่นไม่ให้ยืมเงิน 
7. ไม่หลงเชื่อคำชักชวนโฆษณา หรือคำแนะนำใดๆ หรือแสดงความเก่งกล้าเกี่ยวกับการเสพสิ่งเสพย์ติด 
8. ไม่ใช้ยาอันตรายทุกชนิดโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และควรใช้ยาที่แพทย์แนะนำให้ตามขนาดที่แพทย์สั่งไว้เท่านั้น 
9. หากสงสัยว่าตนเองจะติดสิ่งเสพย์ติดต้องรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ 
10. ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา หรือคำสอนของศาสนาทุกศาสนา เพราะทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายให้บุคคลประพฤติแต่สิ่งดีงามและละเว้นความชั่ว
ที่มา : http://www.nmt.ac.th/product/web/1/d2.html

ยาอื่นๆที่ใกล้เคียงยาเสพติด

มียาอื่นซึ่งมีคุณสมบัติ และการใช้คล้ายยาบ้า ยาอี และยาเคหรือไม่ ถ้ามีคือยาอะไรบ้าง?
              มียาและสารหลายตัว ที่มีคุณสมบัต กระตุ้นระบบประสาท คล้ายกับยาบ้าและยาอี ตัวอย่าง เช่น ยา Love (MDA) ซึ่งได้ชื่อมาจาก ผลของยาที่ทำให้ ผู้ใช้มีความขวยเขิน และความอับอายลดลง รู้สึกอยากพูดคุย ปฏิสันถานกับคนอื่น อีเฟรดีน โคเคน คาเฟอีน ส่วนยาและสาร ที่ทำให้เกิดภาวะ ประสาทหลอน คล้ายยาเค ได้แก่ PCP, LSD สารในเห็ดขี้ควาย กัญชา
              ยาเสพย์ติด ที่เริ่มเป็นปัญหา ของสังคมอึกตัวคือ โคเคน ซึ่งสะกัดแยก มาจากใบของต้นโคคา มีฤทธิ์และผลต่อร่างกาย และจิตใจคล้ายยาบ้ามาก แต่ก็มีข้อแตกต่าง อยู่บ้างบางประการ ประการแรก โคเคนมีผลอยู่ได้สั้น เพียงประมาน 30 นาที หลังจากใช้ยา ขณะที่ยาบ้า มีผลอยู่ได้นานถึง 4-6 ชั่วโมง ซึ่งคุณสมบัตินี้ ทำให้ในต่างประเทศ นิยมใช้โคเคน ในหมู่นักกีฬาอาชีพ และดารา เนื่องจากสามารถ เลือกใช้ผลยาตามเวลา ที่ต้องการได้ ประการที่สอง โคเคนเกิดการชินยา (Tolerance) ได้ช้า ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้อง เพิ่มปริมาณยาที่เสพย์ มากขึ้นทุกครั้ง ในการใช้ยา ขณะที่ยาบ้า เกิดการชินยาได้เร็ว ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณยา มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ผลกระตุ้น ระบบประสาท และจิตอารมณ์เหมือนเดิม ในบางครั้งต้องใช้ยา มากกว่าครั้งแรก 5-10 เท่า ซึ่งทำให้เสี่ยง ต่อพิษของยามากขึ้น ประการที่สาม โคเคนนั้นมีทางเลือก ในการเสพย์ มากกว่ายาบ้า สามารถเสพโดยการสูด หรือการนัตถุ์ยาได้ และประการสุดท้าย โคเคนมีราคาแพง มากกว่ายาบ้า

สถิติยาเสพติด

               จากสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่ามีการแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างกว้างขวาง และรุนแรงมากขึ้น ก่อให้เกิดความสูญเสียกับประเทศชาติหลายด้านด้วยกันทั้งด้านกำลังคน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและด้านการเมือง การปกครอง รัฐบาลได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มีการกำหนดนโยบายเร่งด่วนเพื่อจะลดการระบาดและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้กลยุทธ์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดยาเสพติดภายในประเทศ รวมทั้งใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาดกับผู้ที่กระทำผิดในการค้ายาเสพติด และผู้เสพย์ยาเสพติด เป็นต้น
              จากการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดพบว่า ยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดอย่างมากในประเทศไทยได้แก่ เฮโรอีน และยาบ้า (แอมเฟตามีน) พื้นที่ที่มีปัญหาเฮโรอีนรุนแรง ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ส่วนการแพร่ระบาดของยาบ้ามีมากในภาคกลาง โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และจากการรวบรวมสถิติของสำนักงาน ป.ป.ส. พบว่า ปี พ.ศ. 2533 มีนักเรียน นักศึกษา สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา จำนวน 447 คน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จนในปี พ.ศ. 2540 พบว่ามีจำนวนถึง 6,542 คน และจากสถิติข้อมูลผู้เข้ารับการบำบัดรักษาพบว่าในช่วงปี 2535-2543 การแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มนักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดว่าตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไปมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น 
              จากการสำรวจเพื่อประมาณการจำนวนนักเรียน/นักศึกษาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 6-ปริญญาตรี ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยในปี 2542 โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ พบว่าจากนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 5,365,942 คน 
ทั่วประเทศมีนักเรียน/นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดถึง 663,290 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 12.4 โดยการเข้าไปเกี่ยวข้องจะเป็นไปในลักษณะต่าง ๆ ดัง
นี้

ที่มา : http://www.nmt.ac.th/product/web/1/d7.html

การแก้ไขปัญหายาเสพติด

เราจะช่วยกันแก้ปัญหาการใช้ยาบ้า ยาอี และยาเค ในสังคมไทยได้อย่างไร?

1.การติดยา เป็นปัญหาหนัก ของสังคมปัจจุบัน บรรดาผู้ติดยาเหล่านี้ ในครั้งแรกอาจใช้ จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น เพื่อนชักชวน การอยากลอง อยากมีประสบการณ์แปลกๆ รักสนุก หรือปัญหาครอบครัว เป็นต้น เมื่อตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของสารเสพย์ติดเหล่านี้ ผู้ใช้จะมีความรู้สึก เคลิบเคลิ้มเหมือนว่า อยู่ในอีกโลกหนึ่ง ที่แตกต่างจากโลกที่เคยพบ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ ความรู้สึกชั่วคราว ที่เกิดจากฤทธิ์ของยา ซึ่งจะหายไป เมื่อยาหมดฤทธิ์ ดังนั้นในขณะที่ใช้ยา จึงมักขาดสติ เหตุผล และความยั้งคิด และอาจก่อเรื่อง ที่จะต้องเสียใจในภายหลัง หรือแม้กระทั่งเรื่อง ที่ไม่มีโอกาสเสียใจอีกเลย ผู้ที่ติดยาจึงเปรียบเหมือน ระเบิดเวลา ที่อาจจะระเบิดออกมา เมื่อไรก็ได้ เมื่อระเบิดแล้วก็ก่อปัญหา ทั้งต่อตัวเองและสังคม

2.การใช้ยาเสพย์ติด ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพล มาจากวัฒนธรรม และสังคมต่างประเทศ โดยเฉพาะ ในกรณีของยาอี และยาเค ดังนั้นครอบครัว จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะปลูกฝัง ภูมิคุ้มกันยาเสพย์ติด ให้แก่เยาวชนของชาติ หมั่นสอดส่องดูแล ให้ความเข้าใจ และความอบอุ่น แก่บุตรหลานของท่าน เสียแต่วันนี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียใจ และต้องสอดส่องดูแล บุตรหลานของท่าน ภายใต้มาตรการ ของกฎหมายในวันหน้า 

3.ในส่วนของตัวเยาวชนเอง ต้องรู้จักการยับยั้งชั่งใจ รู้จักปฏิเสธ หรือพูดคำว่า ไม่เมื่อถูกชักชวน ให้ทดลองเสพย์ยา และต้องไม่หลงไหลได้ปลื้ม ไปกับวัฒนธรรม ของคนต่างชาติ ซึ่งมีแนวความคิด ขนบธรรมเนียม และประเพณี แตกต่างจากคนไทย การใช้เวลาว่างให้ถูกต้อง โดยการเล่นกีฬา ดนตรี หรือแสวงหา ความรู้เพิ่มเติมนั้น ดีกว่าการเที่ยวรักสนุก หรือการไฝ่หาทดลอง ประสบการณ์แปลกๆ จิตใจที่เข้มแข็งมั่นคง เป็นเหมือนเกราะป้องกัน การแทรกซึม จากภัยของยาเสพย์ติด 

4.
การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้ เรื่องพิษภัยของยาเสพย์ติด คงจะเป็น อีกมาตรการหนึ่ง ที่ช่วยสร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องแก่เยาวชนได้ การจัดค่ายอบรม เรื่องยาเสพย์ติด การจัดรายการประจำ ทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ และคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ นิตยสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ตลอดจน การให้ความรู้ ทางสื่ออื่นๆ น่าจะเป็นวิถีทาง ที่เร่งเร้าจิตสำนึก ของคนไทยให้ช่วยกัน ขจัดปัญหายาเสพย์ติด อีกประการที่สำคัญ คือผู้รับผิดชอบกำกับดูแล มาตรการทางกฎหมายและสังคม คงจะต้องทำหน้าที่ อย่างเคร่งครัด และมีประสิทธิภาพ และต้องยอมรับกันว่า การแก้ปัญหา ที่ปลายเหตุคือผู้เสพย์ยา แต่เพียงอย่างเดียว ไม่น่าเป็นหนทางแก้ปัญหา ที่มีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งได้แก่การลักลอบผลิต และจำหน่าย จะช่วยส่งเสริมให้ การแก้ปัญหา ได้ผลอย่างถาวร การร่วมมือร่วมใจ ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย คงจะเป็นนิมิตรหมายอันดี ที่นำไปสู่การแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ การปัดปัญหา ออกจากตัว หรือการเอาแต่ ตำหนิซึ่งกันและกัน รังแต่จะชะลอปัญหา ให้คั่งค้างหมักหมม จนหนักหนาสาหัส เกินแก้ไขในที่สุด 

ที่มา : http://www.nmt.ac.th/product/web/1/d7.html