วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

10 ประการห่างไกลยาเสพติด

หลักในการหลีกเลี่ยงและป้องกันการติดสิ่งเสพย์ติด 

1. เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู และคนอื่นๆ ที่น่านับถือและหวังดี (จริงๆ) 
2. เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาครอบครัว ครู หรือผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ไม่ควรเก็บปัญหานั้นไว้หรือหาทางลืมปัญหาโดยใช้สิ่งเสพย์ติดช่วยหรือ ใช้เพื่อเป็นการประชด 
3. หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากผู้ติดสิ่งเสพย์ติด หรือผู้จำหน่ายสิ่งเสพย์ติด 
4. ถ้าพบคนกำลังเสพสิ่งเสพย์ติด หรือจำหน่ายให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ 
5. ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพย์ติด เพื่อจะได้ป้องกันตัวและผู้ใกล้ชิดให้ห่างจากสิ่งเสพย์ติด 
6. ต้องไม่ให้ความร่วมมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับเพื่อนที่ติดสิ่งเสพย์ติด เช่นไม่ให้ยืมเงิน 
7. ไม่หลงเชื่อคำชักชวนโฆษณา หรือคำแนะนำใดๆ หรือแสดงความเก่งกล้าเกี่ยวกับการเสพสิ่งเสพย์ติด 
8. ไม่ใช้ยาอันตรายทุกชนิดโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และควรใช้ยาที่แพทย์แนะนำให้ตามขนาดที่แพทย์สั่งไว้เท่านั้น 
9. หากสงสัยว่าตนเองจะติดสิ่งเสพย์ติดต้องรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ 
10. ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา หรือคำสอนของศาสนาทุกศาสนา เพราะทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายให้บุคคลประพฤติแต่สิ่งดีงามและละเว้นความชั่ว
ที่มา : http://www.nmt.ac.th/product/web/1/d2.html

ยาอื่นๆที่ใกล้เคียงยาเสพติด

มียาอื่นซึ่งมีคุณสมบัติ และการใช้คล้ายยาบ้า ยาอี และยาเคหรือไม่ ถ้ามีคือยาอะไรบ้าง?
              มียาและสารหลายตัว ที่มีคุณสมบัต กระตุ้นระบบประสาท คล้ายกับยาบ้าและยาอี ตัวอย่าง เช่น ยา Love (MDA) ซึ่งได้ชื่อมาจาก ผลของยาที่ทำให้ ผู้ใช้มีความขวยเขิน และความอับอายลดลง รู้สึกอยากพูดคุย ปฏิสันถานกับคนอื่น อีเฟรดีน โคเคน คาเฟอีน ส่วนยาและสาร ที่ทำให้เกิดภาวะ ประสาทหลอน คล้ายยาเค ได้แก่ PCP, LSD สารในเห็ดขี้ควาย กัญชา
              ยาเสพย์ติด ที่เริ่มเป็นปัญหา ของสังคมอึกตัวคือ โคเคน ซึ่งสะกัดแยก มาจากใบของต้นโคคา มีฤทธิ์และผลต่อร่างกาย และจิตใจคล้ายยาบ้ามาก แต่ก็มีข้อแตกต่าง อยู่บ้างบางประการ ประการแรก โคเคนมีผลอยู่ได้สั้น เพียงประมาน 30 นาที หลังจากใช้ยา ขณะที่ยาบ้า มีผลอยู่ได้นานถึง 4-6 ชั่วโมง ซึ่งคุณสมบัตินี้ ทำให้ในต่างประเทศ นิยมใช้โคเคน ในหมู่นักกีฬาอาชีพ และดารา เนื่องจากสามารถ เลือกใช้ผลยาตามเวลา ที่ต้องการได้ ประการที่สอง โคเคนเกิดการชินยา (Tolerance) ได้ช้า ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้อง เพิ่มปริมาณยาที่เสพย์ มากขึ้นทุกครั้ง ในการใช้ยา ขณะที่ยาบ้า เกิดการชินยาได้เร็ว ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณยา มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ผลกระตุ้น ระบบประสาท และจิตอารมณ์เหมือนเดิม ในบางครั้งต้องใช้ยา มากกว่าครั้งแรก 5-10 เท่า ซึ่งทำให้เสี่ยง ต่อพิษของยามากขึ้น ประการที่สาม โคเคนนั้นมีทางเลือก ในการเสพย์ มากกว่ายาบ้า สามารถเสพโดยการสูด หรือการนัตถุ์ยาได้ และประการสุดท้าย โคเคนมีราคาแพง มากกว่ายาบ้า

สถิติยาเสพติด

               จากสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่ามีการแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างกว้างขวาง และรุนแรงมากขึ้น ก่อให้เกิดความสูญเสียกับประเทศชาติหลายด้านด้วยกันทั้งด้านกำลังคน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและด้านการเมือง การปกครอง รัฐบาลได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มีการกำหนดนโยบายเร่งด่วนเพื่อจะลดการระบาดและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้กลยุทธ์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดยาเสพติดภายในประเทศ รวมทั้งใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาดกับผู้ที่กระทำผิดในการค้ายาเสพติด และผู้เสพย์ยาเสพติด เป็นต้น
              จากการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดพบว่า ยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดอย่างมากในประเทศไทยได้แก่ เฮโรอีน และยาบ้า (แอมเฟตามีน) พื้นที่ที่มีปัญหาเฮโรอีนรุนแรง ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ส่วนการแพร่ระบาดของยาบ้ามีมากในภาคกลาง โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และจากการรวบรวมสถิติของสำนักงาน ป.ป.ส. พบว่า ปี พ.ศ. 2533 มีนักเรียน นักศึกษา สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา จำนวน 447 คน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จนในปี พ.ศ. 2540 พบว่ามีจำนวนถึง 6,542 คน และจากสถิติข้อมูลผู้เข้ารับการบำบัดรักษาพบว่าในช่วงปี 2535-2543 การแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มนักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดว่าตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไปมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น 
              จากการสำรวจเพื่อประมาณการจำนวนนักเรียน/นักศึกษาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 6-ปริญญาตรี ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยในปี 2542 โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ พบว่าจากนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 5,365,942 คน 
ทั่วประเทศมีนักเรียน/นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดถึง 663,290 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 12.4 โดยการเข้าไปเกี่ยวข้องจะเป็นไปในลักษณะต่าง ๆ ดัง
นี้

ที่มา : http://www.nmt.ac.th/product/web/1/d7.html

การแก้ไขปัญหายาเสพติด

เราจะช่วยกันแก้ปัญหาการใช้ยาบ้า ยาอี และยาเค ในสังคมไทยได้อย่างไร?

1.การติดยา เป็นปัญหาหนัก ของสังคมปัจจุบัน บรรดาผู้ติดยาเหล่านี้ ในครั้งแรกอาจใช้ จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น เพื่อนชักชวน การอยากลอง อยากมีประสบการณ์แปลกๆ รักสนุก หรือปัญหาครอบครัว เป็นต้น เมื่อตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของสารเสพย์ติดเหล่านี้ ผู้ใช้จะมีความรู้สึก เคลิบเคลิ้มเหมือนว่า อยู่ในอีกโลกหนึ่ง ที่แตกต่างจากโลกที่เคยพบ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ ความรู้สึกชั่วคราว ที่เกิดจากฤทธิ์ของยา ซึ่งจะหายไป เมื่อยาหมดฤทธิ์ ดังนั้นในขณะที่ใช้ยา จึงมักขาดสติ เหตุผล และความยั้งคิด และอาจก่อเรื่อง ที่จะต้องเสียใจในภายหลัง หรือแม้กระทั่งเรื่อง ที่ไม่มีโอกาสเสียใจอีกเลย ผู้ที่ติดยาจึงเปรียบเหมือน ระเบิดเวลา ที่อาจจะระเบิดออกมา เมื่อไรก็ได้ เมื่อระเบิดแล้วก็ก่อปัญหา ทั้งต่อตัวเองและสังคม

2.การใช้ยาเสพย์ติด ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพล มาจากวัฒนธรรม และสังคมต่างประเทศ โดยเฉพาะ ในกรณีของยาอี และยาเค ดังนั้นครอบครัว จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะปลูกฝัง ภูมิคุ้มกันยาเสพย์ติด ให้แก่เยาวชนของชาติ หมั่นสอดส่องดูแล ให้ความเข้าใจ และความอบอุ่น แก่บุตรหลานของท่าน เสียแต่วันนี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียใจ และต้องสอดส่องดูแล บุตรหลานของท่าน ภายใต้มาตรการ ของกฎหมายในวันหน้า 

3.ในส่วนของตัวเยาวชนเอง ต้องรู้จักการยับยั้งชั่งใจ รู้จักปฏิเสธ หรือพูดคำว่า ไม่เมื่อถูกชักชวน ให้ทดลองเสพย์ยา และต้องไม่หลงไหลได้ปลื้ม ไปกับวัฒนธรรม ของคนต่างชาติ ซึ่งมีแนวความคิด ขนบธรรมเนียม และประเพณี แตกต่างจากคนไทย การใช้เวลาว่างให้ถูกต้อง โดยการเล่นกีฬา ดนตรี หรือแสวงหา ความรู้เพิ่มเติมนั้น ดีกว่าการเที่ยวรักสนุก หรือการไฝ่หาทดลอง ประสบการณ์แปลกๆ จิตใจที่เข้มแข็งมั่นคง เป็นเหมือนเกราะป้องกัน การแทรกซึม จากภัยของยาเสพย์ติด 

4.
การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้ เรื่องพิษภัยของยาเสพย์ติด คงจะเป็น อีกมาตรการหนึ่ง ที่ช่วยสร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องแก่เยาวชนได้ การจัดค่ายอบรม เรื่องยาเสพย์ติด การจัดรายการประจำ ทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ และคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ นิตยสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ตลอดจน การให้ความรู้ ทางสื่ออื่นๆ น่าจะเป็นวิถีทาง ที่เร่งเร้าจิตสำนึก ของคนไทยให้ช่วยกัน ขจัดปัญหายาเสพย์ติด อีกประการที่สำคัญ คือผู้รับผิดชอบกำกับดูแล มาตรการทางกฎหมายและสังคม คงจะต้องทำหน้าที่ อย่างเคร่งครัด และมีประสิทธิภาพ และต้องยอมรับกันว่า การแก้ปัญหา ที่ปลายเหตุคือผู้เสพย์ยา แต่เพียงอย่างเดียว ไม่น่าเป็นหนทางแก้ปัญหา ที่มีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งได้แก่การลักลอบผลิต และจำหน่าย จะช่วยส่งเสริมให้ การแก้ปัญหา ได้ผลอย่างถาวร การร่วมมือร่วมใจ ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย คงจะเป็นนิมิตรหมายอันดี ที่นำไปสู่การแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ การปัดปัญหา ออกจากตัว หรือการเอาแต่ ตำหนิซึ่งกันและกัน รังแต่จะชะลอปัญหา ให้คั่งค้างหมักหมม จนหนักหนาสาหัส เกินแก้ไขในที่สุด 

ที่มา : http://www.nmt.ac.th/product/web/1/d7.html

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การป้องกันยาเสพติด

การป้องกันปัญหาสิ่งเสพติดต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนี้ 
   การป้องกันตนเอง 
     1. ไม่ทดลองเสพสิ่งที่รู้ว่ามีภัย เพราะอาจจะทำให้ติดได้ง่าย 
     2. เลือกคบเพื่อนที่ดี พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย 
     3. รู้จักใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา แต่หากว่าไม่สามารถแก้ไขเองได้ ก็ควรจะปรึกษากับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ 
     4. การสร้างทักษะชีวิต โดยเฉพาะทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกเพื่อนชักชวนให้เสพสิ่งเสพติดต้องรู้จักปฏิเสธอย่างนุ่มนวล โดยการชี้แจงผลเสียของสิ่งเสพติดต่อการเรียนและอนาคต การรู้จักปฏิเสธอย่างจริงจังและจิตใจแน่วแน่จะทำให้เพื่อนเกรงใจไม่กล้าชวนอีก 

   
 การป้องกันในครอบครัว 
   
  ผู้ที่ติดสิ่งเสพติดส่วนใหญ่จะเกิดจากครอบครัวที่แตกแยกมีปัญหา ขาดความรักความอบอุ่น เกิดความว้าเหว่ ขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งเป็นเหตุให้เด็กๆ หันไปพึ่งยาเสพติดแทน ดังนั้นพ่อแม่จึงควรให้ความรักความอบอุ่น และพ่อแม่ก็ควรจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลูกๆได้ ทำให้ลูกไม่หันไปพึ่งพายาเสพติด
   
การป้องกันในโรงเรียน 
     ครูควรให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและอันตรายของสิ่งเสพติดให้กับนักเรียน จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนให้เพียงพอและสนับสนุนให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆและสอนให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  การป้องกันชุมชน
       
การป้องกันชุมชนจากปัญหาสิ่งเสพติดทำได้หลายวิธี เช่น
    1. การให้ความรู้ โดยการอบรมแก่ทุกคนในชุมชนให้เห้นโทษหรืออันตรายจากสิ่งเสพติด
    2. เสริมกิจกรรมยามว่าง โดยการส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชนยามว่าง เช่น การเย็บเสื้อผ้า การทำรองเท้า เป็นต้น
    3. ตั้งศูนย์รับแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เมื่อพบว่ามีการซื้อขายหรือเสพสิ่งเสพติดภายในชุมชน
    4. เข้าร่วมโครงการชุมชนปลอดสิ่งเสพติดต่างๆ ทั้งที่ทางราชการจัดขึ้น และชุมชนคิดริเริ่มขึ้นมาเอง
   
รัฐบาล  
    1. การให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
    2. แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอย่างจริงจัง และจัดสรรงบประมาณในการป้องกันและปราบปรามสิ่งเสพติด
    3. จัดบุคลากรและหน่วยงานในการป้องกันและปราบปรามสิ่งเสพติดให้เพียงพอ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
    4. การบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง บางครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนที่ดูแลด้านสิ่งเสพติดก็ปล่อยปละละเลย หรือทำการค้าสิ่งเสพติดเสียเอง ทำให้การปราบปรามไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเข้ทมงวดกับผู้กระทำผิดและลงโทาผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

วิธีสังเกตผู้ติดยาเสพติด

จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้ 
 ๑ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก
          - สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
          - ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
          - ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
          - ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
          - มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน
          - ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
๒ การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตุได้จาก
          - เป็นคนเจ้าอารมย์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
          - ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
          - ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
          - พูดจากร้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
          - ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ
          - ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
          - ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
          - พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว
          - มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
          - ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ  
          - ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา  
          - ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย 
          - มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ
 ๓ การสังเกตุอาการขาดยา ดังต่อไปนี้
          - น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย
          - กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด
          - ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ
          - ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก
          - ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด
          - มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง
          - เป็นตะคริว
          - นอนไม่หลับ
          - เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้ 
                                                         

โทษของยาเสพติด

โทษและพิษภัยของสารเสพย์ติด
....   .เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก
โทษทางร่างกาย และจิตใจ
1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง 
ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม
โทษพิษภัยต่อครอบครัว
1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง 
3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง

สาเหตุการเกิดยาเสพติด

1. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 
1.1 อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้ จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจประมาทไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น หรือถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้

1.2 ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตนในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่างๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น

1.3 การชักชวนของคนอื่น อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณาของผู้ขายสินค้าที่เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้มีสติปัญญาดี สามารถรักษาโรคได้บางชนิด เป็นต้น ผู้ที่เชื่อคำชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน หรือเชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น

2. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง             
           ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้นๆ กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิดสังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง

3. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย 
3.1 การเจ็บป่วยทางกาย คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นเพราะสาเหตุต่างๆ เช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผลเรื้อรัง มีความเจ็บปวดอยู่เป็นประจำ เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานมาก หรือเป็นประจำ จึงพยายามแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้นซึ่งวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือ การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดนั้นได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เมื่อฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่ ผู้ป่วยก็จะใช้ยานั้นอีก เมื่อทำเช่นนี้ไปนานๆ เกิดอาการติดยานั้นขึ้น

3.2 การเจ็บป่วยทางจิต ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติเช่น มีความวิตก กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น ทำให้สภาวะจิตใจไม่เป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพย์ติดที่มีฤทธิ์สามารถคลายความเครียดจากทางจิตได้ชั่วขณะหนึ่งมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์ จิตใจก็จะกลับเครียดอีก และผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพย์ติด ถ้าทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ผู้นั้นติดยาเสพย์ติดในที่สุด

3.3 การปฏิบัติไม่ถูกต้องในการใช้ยา การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาที่แท้จริง ขนาดยาที่ควรรับประทาน การรับประทานยาเกินจำนวนกว่าที่แพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทานติดต่อกันนานๆ บางครั้งอาจมีอาการถึงตายได้ หรือบางครั้งทำให้เกิดการเสพติดยานั้นได้

4. สาเหตุอื่นๆ 
4.1 การอยู่ใกล้ชิดกับแหล่งสิ่งเสพย์ติด การอยู่ใกล้แหล่งขายหรือใกล้แหล่งผลิต หรือ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตเอง จึงทำให้มีโอกาสติดสิ่งเสพย์ติดให้โทษนั้นมากกว่าคนทั่วไป

4.2 การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดสิ่งเสพย์ติด เมื่อมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดสิ่งเสพย์ติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวทั้งใจเห็นพฤติกรรมต่างๆ ของเขาด้วย และยังอาจได้รับคำแนะนำหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึงมีโอกาสติดได้

4.3 สภาพแวดล้อมทางสังคม 
คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพย์ติด ช่วยผ่อนคลายความรู้สึกในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยามก็ตาม เช่น กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้าหรือสูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้นโดยพยายามทำงานให้หนักและมากขึ้นทั้งๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นได้

4.4 การเลียนแบบ การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใคร่เหรือเพื่อนเสพสิ่งเสพย์ติด จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดงความเป็นพวกเดียวกัน จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นจนติด

4.5 การประชดชีวิต คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพย์ติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม

ประเภทยาเสพติด

         ปัจจุบันสิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภท อาจจำแนกได้หลายเกณฑ์ นอกจากแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกำกฎหมายดังนี้
ก.จำแนกตามสิ่งเสพติดที่มา
1. ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา
2. ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาม้า แอมเฟตามีน สารระเหย
ข.จำแนกสิ่งเสพติดตามกฎหมาย
1. ประเภทถูกกฎหมาย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ บุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ
2. ประเภทผิดกฎหมาย เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน ฯลฯ
ค.การจำแนกสิ่งเสพติดตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
1.ประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยาระงับประทสาท ยานอนหลับ สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมา เช่นเหล้า เบียร์ ฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน ยาม้า ใบกระท่อม บุหรี่ กาแฟ โคคาอีน
3. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอล เอส ดี,เอส ที พี,น้ำมันระเหย
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกันได้แก่ กัญชา


ความหมายยาเสพติด

ยาเสพติด  
           
หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้นเมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
ลักษณะสำคัญของสารเสพติดจะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพ  ดังนี้          
๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
๒. เกิดอาการขาดยาถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา
๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลงเกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
 


ความหมายโดยทั่วไป
          ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆเป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม อาจจะทำให้          
1. บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว
2. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆหรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง
3. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ  

ความหมายตามกฎหมาย
         
 ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทานดม สูบฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่นต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลงกลับให้รวม
ถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ใน
การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่ไม่หมายความ
ถึง ยาสำคัญประจำบ้านบางตำรับตามที่กฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอยู่

ที่มา : http://blog.eduzones.com/jipatar/85849

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สิ่งเสพติด

           ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสีย เงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้ สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ