วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาโครงงานตัวอย่าง

ตัวอย่างโครงงานเรื่อง เกมผจญภัยแนวใหม่ ร่วมสร้างใจให้เป็นหนึ่ง
ความเป็นมาของโครงงาน
                โลกในยุคปัจจุบัน แทบจะเรียกได้ว่าเกมเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตในหมู่เด็กๆ รวมทั้ง เยาวชนเลยทีเดียว เนื่องจากเกมเป็นสิ่ง ที่ หาซื้อและเข้า ถึงได้ไม่ยาก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราจะต้องเลือกสรรเล่นเกมที่มีคุณภาพ และให้ประโยชน์กับผู้ล่นเกม สมาชิกในโครงงานเล็งเห็นถึงความสำคัญในจุดนี้ จึงมีความคิดที่จะพัฒนาเกมที่สร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์กับเยาวชน โดยในโอกาสนี้จะมุ่งเน้นถึงการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ผ่านเกมคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบเกม RPG นอกจากนี้ เนื่องจากมี สมาชิกในกลุ่มหลายคน มีความสนใจในการเล่นเกมที่มีลักษณะต้องแก้ปริศนา และมีความตั้งใจว่าจะพัฒนาเกมที่สร้างสรรค์จากจินตนาการของตนเองขึ้นมาเกมหนึ่งเมื่อมีโอกาสอีกทั้งมีสมาชิกในกลุ่มหลายคนเช่นกัน ที่มีความสามารถพื้นฐานทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นทุนเดิมอยู่ด้วยแล้ว สมาชิกในกลุ่มจึงเห็นพ้องต้องกันว่าไม่ใช่เรื่องยากที่จะนาการพัฒนาเกม มาจัดทาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ ตลอดจนสามารถดาเนินการสร้างเกมได้อย่างเสร็จสิ้น ตามระยะเวลาที่มีได้อย่างเหมาะสมเกมที่มีคุณภาพตามความหมายของโครงงานนี้ ครอบคลุมถึงขอบเขตเฉพาะเกมที่มีลักษณะประเทืองปัญญามุ่งเน้นเสริมสร้างประโยชน์ให้กบผู้เล่นมากกว่าความรุนแรงแต่ยังความสนุกสนานไว้เกมเหล่านี้ มีอยู่อย่างพอสมควรในปัจจุบัน แต่หลายเกมก็ยงพัฒนาไม่น่าสนใจพอด้วยเหตุน จึงนาไปสู่ ที่มาของการสร้างสรรค์โครงงานนี้ขึ้นด้วยความสำคัญที่เยาวชนจะต้องเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ทาให้พวกเขาต้องเดินผิดทาง อนาคตของพวกเขาก็เหมือนอนาคตของชาติ เราจึงจะวางเฉยไม่ได้เลยหากเขามีแนวความคิดที่ผิด เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเกมที่มีคุณภาพตามความหมายของโครงงานที่เราได้พัฒนานี้ พอจะเป็นเครื่องมือที่สร้างความสนใจให้กับเยาวชน และเหล่าสมาชิกภายในห้องของสมาชิกผูจดทาเองได้ไม่มากก็น้อย
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เป็นตัวเลือกหนึ่งในการพิจารณาเลือกเกมที่ให้ความเพลิดเพลินและฝึกการคิด
2. เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความสามัคคีกนมากยิงขึ้น
3. เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ขอบเขตของโครงงาน
สมมุติฐานของการดำเนินการ
 -
ขอบเขตของการดำเนินการ
                ศึกษาเฉพาะการสร้างเกมโดยใช้โปรแกรม RPG MAKER เท่านั้น โดยเน้นไปถึงคุณสมบัติหลักของโปรแกรม ไม่ครอบคลุมถึงการใช้เทคนิคขั้นสูงของโปรแกรม
 เอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.เกมออนไลน์
2.เกมออฟไลน์
วิธีดำเนินการ
                สมาชิกจะออกความเห็นและช่วยกันระดมความคิดภายในกลุ่มว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ 1 พ.ย. 2553ตรงกับจุดมุ่งหมายของเกมหรือไม่และสามารถนำความคิดนี้ ไปสร้างสรรค์ภายในเกมได้จริงตามความสามารถของโปรแกรมได้หรือไม่ จึงทาให้เรา พบว่าความสามารถของโปรแกรมมีจากัด เช่น สามารถแสดงผลได้เฉพาะเกมสองมิติเท่านั้น สรุปความคิดเห็นทั้งหมดและอธิบายให้รับทราบ20 พ.ย. 2553 ทัวกัน โดยหัวหน้ากลุ่มจะเป็นผู้สรุปความคิดรวบยอดให้สมาชิกทุกคน และเข้าใจร่วมกัน หัวหน้ากลุ่มดาเนินการมอบหมายงานตามที่ สมาชิกแต่ละคนถนัด และเหมาะสมในหน้าที่ต่างๆ21 พ.ย. 2553  พร้อมกับนัดหมายเวลากำหนดรวบรวมงานให้เป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน พัฒนาตัวเกม และได้ตัวเกมรุ่นทดลองรุ่นแรก สำเร็จ พบว่าเกมที่สร้างสรรค์มีขอบกพร่องที่ผู้เล่น 10 ธ.ค. 2553 สามารถดาเนินเนื้อเรื่องต่อได้แม้ไม่ได้ผ่าน เหตุการณ์สำคัญบางเหตุการณ์และแก้ไขส่วนที่เป็นข้อบกพร่องของเกมรุ่นทดลอง11 ธ.ค. 2553 และเพิ่มความสมจริงของตัวเกม โดยใส่ ภาพจริงของเพื่อนๆในห้องลงไปในตัวเกม แก้ไขและพัฒนาตัวเกมได้สำเร็จ ตัวเกมมีความ31 ธ.ค. 2553 -สมบูรณ์พร้อมการนาไปใช้ จัดทารูปเล่มรายงาน และเตรี ยมการนาเสนอผลงานม.ค. 2554 พร้อมกับมอบหมายเนื้อหา ให้ทุกคนมีส่วนร่วมใน การนาเสนอร่วมกันม.ค. 2554 เตรี ยมพร้อมการนาเสนอโครงงาน
ผลการดำเนินการ
การใช้งานโปรแกรม RPG Maker พบปัญหาของโปรแกรม RPG Maker คือไม่สามารถนาเข้าไฟล์วิดีโอได้ และพบว่าแนวการดาเนินเนื้อเรื่องได้เพียงแบบเดียวคือการดาเนินเรื่องของตัวละครเท่านั้น ไม่สามารถที่จะทาเป็นการจับมอนสเตอร์ได้ การสร้างเกมมีความยากในระดับปานกลางเพราะผู้สนใจมือใหม่ก็สามารถสร้างได้ไม่ยากนักแต่อาจจะทำได้แค่เพียง         รูปแบบง่ายๆเท่านั้นต้องศึกษาเพิ่มเติมเล็กน้อยเพื่อให้สร้างเกมที่ ลึกซึ่ง ได้มากขึ้นทำให้โปรแกรมน่าสนใจสำหรับผู้สนใจมือใหม่ส่วนของการพัฒนาเกม เนื้อหาของเกมสามารถสื่อถึงจุดมุ่งหมายของเกมได้ดี
สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
สาหรับผู้ที่สนใจมือใหม่ สามารถลองสร้างเกมได้โดยการหาโปรแกรมมาและลองสร้างแผนที่และ ตัวละครต่างๆได้เลยแต่การสร้างเหตุการณ์เน้นควรถามจากผู้ที่มีประสบการณ์หรือหาซื้อหนังสือคู่มือการใช้โปรแกรมมาอ่านเพิ่มเติม ไม่เช่นนั้นเหตุการณ์ที่สร้างอาจไม่เกิดตามที่เราต้องการทาให้เกิดข้อผิดพลาดของโปรแกรมขึ้นได้
เอกสารอ้างอิง
สมประสงค์. สร้างเกมง่ายๆสไตล์ RM2K,กรุงเทพฯ:ซี เอ็ดยูเคชั่น, 2546.
นาวิน สมประสงค์. คัมภีร์สร้างเกมด้วย RPG Maker XP,กรุงเทพฯ:ซี เอ็ดยูเคชั่น, 2548
ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงาน
-

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รายงานการเรียนรู้การใช้ซอฟแวร์สร้างสรรค์ผลงาน

เนื้อหาประกอบด้วย
ชื่อโครงงาน วัยรุ่นไทยและปัญหายาเสพติด
กลุ่มที่  9
สมาชิกกลุ่ม
นางสาว วริศรา จอมสวัสดิ์ ม.5/11 เลขที่ 23
นางสาว ณัฐกุล บุญญา ม.5/11 เลขที่ 35
นางสาว สิรินทิพย์ บุญญานุกูล ม.5/11 เลขที่39
วิธีดำเนินการ
1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มตนเองสนใจ คือเรื่อง วัยรุ่นไทยกับปัญหายาเสพติด
3. ศึกษาการใช้โปรแกรมในการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ กับอาจารย์ที่ปรึกษา
4. ศึกษาการใช้โปรแกรม Adobe Flash CS3 เพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต
5. นำความรู้ที่ได้ศึกษามาฝึกฝนและปฏิบัติ
6. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มตนเองสนใจ และโพสลงเว็บบล็อกของตนเอง เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจ
7. สร้างวิธีการใช้งานโปรแกรมลงในเว็บบล็อกของสมาชิกในกลุ่ม
8. นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ แก่ครูที่ปรึกษาผ่านทางเว็บบล็อกของสมาชิกในกลุ่ม
ผลการดำเนินการ (สรุปความรู้ที่ได้)
                จากการเรียนรู้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมทำให้
1.รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม
2.รู้จักศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ และผู้ที่มีความรู้
3.รู้วิธีการสร้างเว็บ blog
4.มีความรู้เพิ่มเติมในการสร้างเกม สร้างภาพการ์ตูน และสร้าง background กราฟิกสวย ๆ
5. รู้วิธีการใช้โปรแกรม Adobe flash CS3 เบื้องต้น เช่น การสร้าง file, ส่วนประกอบจอภาพการทำงาน, บันทึกไฟล์เปิดไฟล์และปิดไฟล์  เป็นต้น
6. สามารถสร้างเกมด้วยโปรแกรม Adobe flash CS3 ได้
7. สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้และเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้
แหล่งเรียนรู้
1.อาจารย์กิตติมา เพชรทรัพย์
2.นายกษิน แย้มศรี
3.YouTube
4.เว็บไซต์การใช้โปรแกรม Adobe flash CS3

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สาธิตการใช้ซอฟแวร์

สาธิตการใช้ซอฟแวร์ : โปรแกรมAdobe flash CS3
การดาวน์โหลดโปรแกรม  flash!!
ขั้นตอนที่ 1  พิมพ์ Google ว่า  “Adobe flash CS3”

ขั้นตอนที่ 2  เลื่อนลงมาที่

ขั้นตอนที่ 3  คลิ๊กเข้าไป แล้วเลื่อนลงมาจนเจอหน้าแบบนี้  
จากนั้นก็คลิ๊กที่เว็บเพื่อดาวน์โหลด
ขั้นตอนที่ 4  จากนั้นจะเห็นหน้าแบบนี้ แล้วคลิ๊กที่ Download
จะเห็นว่าดาวน์โหลดอยู่
ขั้นตอนที่ 5 เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ก็กดเข้าไปในไฟล์ Downloads แล้วเลือกไฟล์ที่เราได้ดาวน์โหลดมา จากนั้นก็คลิ๊กเข้าไป แล้วก็จะขึ้น
จากนั้นก็คลิ๊ก……
จากนั้นก็จะขึ้นเป็นดังภาพ แล้วกดกากบาทได้เลย
ขั้นตอนที่ 6  คลิ๊กเข้าไปเพื่อติดตั้ง
จากนั้นโปรแกรมก็โหลดเพื่อใช้งาน
และปรากฏโปรแกรมในที่สุด
การเรียกใช้โปรแกรม flash!!

ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากการคลิ๊กปุ่ม     จากนั้นก็เลื่อนไปคลิ๊กที่รายการ  “Adobe Flash CS3  Professional” รอสักครู่ก็ประกฎหน้าต่างการทำงาน



จากนั้นก็เลือกการสร้างผลงานใหม่ของ Flash จากรายการ Create New Flash File จะปรากฏส่วนประกอบจอภาพการทำงานดังนี้
ส่วนประกอบจอภาพการทำงานดังนี้
- แถบเครื่องมือ (Toolbox)
กลุ่มเครื่องมือสร้างงานและจัดการวัตถุ ประกอบด้วยปุ่มเครื่องมือย่อยต่างๆ สามารถเปิด/ปิดด้วยคำสั่ง Window, Tools โดยสามารถแบ่งเครื่องมือเป็นหมวด ๆ ได้ 5 หมวด คือ เครื่องมือหมวดเลือกวัตถุ(Selection) เครื่องมือหมวดวาดภาพ (Drawing) เครื่องมือจัดแต่งวัตถุ (Modify) เครื่องมือควบคุมมุมมอง (View) และเครื่องมือควบคุมสี (Color)


- Document Tab
ส่วนควบคุมเอกสาร สามารถคลิกเพื่อสลับเปลี่ยนจอภาพเอกสาร
- Timeline & Layer
Timeline : เป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ควบคุมการนำเสนอผลงาน สามารถเปิด/ปิดด้วยคำสั่ง Window, Timeline
Layer : ส่วนควบคุมการสร้างชั้นวัตถุ เพื่อให้การควบคุมวัตถุแต่ละชิ้น มีอิสระ และสะดวก
ต่อการแก้ไข ปรับแต่ง
- Panel
หน้าต่างเล็กๆ ที่ทำหน้าที่แสดงคำสั่งควบคุมย่อยต่างๆ ของโปรแกรม โดยจะปรากฏรายการคำสั่งในเมนู Window
- ควบคุม Panel
Panel เป็นจอภาพเล็กๆ ที่แสดงฟังก์ชันการทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การทำงานเกี่ยวกับสีจะควบคุมด้วย Color Mixer หรือ Color Swatches การจัดตำแหน่งวัตถุต่างๆ ควบคุมด้วย Align Panel เป็นต้น การเรียกใช้หรือเปิด/ปิด Panel จะใช้คำสั่ง Window แล้วตามด้วยชื่อ Panel นั้นๆ
ขั้นตอนที่ 2
สร้างภาพกราฟิกต่างๆ โดยใช้เครื่องมือกราฟิกจากชุดเครื่องมือ Toolbox โดยมีเครื่องมือหลายกลุ่ม และเปิด/ปิด Toolbox ได้จากเมนูคำสั่ง Window, Tools
ขั้นตอนที่ 3  บันทึกไฟล์
ภาพที่วาดที่สร้างเสร็จแล้ว หรือปรับแต่งแก้ไขแล้ว ควรบันทึกไฟล์เก็บไว้ทุกครั้ง โดยไฟล์ต้นฉบับจะได้ส่วนขยายเป็น .fla การบันทึกไฟล์สามารถใช้คำสั่ง File, Save… หรือ File, Save As…
จุดสังเกต!! ว่าไฟล์ได้ผ่านการบันทึกแล้วหรือไม่ ก็ดูได้จากชื่อไฟล์ใน Title Bar หากมีเครื่องหมาย * แสดงว่ายังไม่ผ่านการบันทึก
***
เปิดไฟล์
การเปิดไฟล์ภาพใช้คำสั่ง File, Open... หรือคลิกปุ่ม Open จากMain Toolbar นอกจากนี้ยังสามารถเลือกไฟล์ที่เคยเปิดได้จากเมนูคำสั่ง File, Open Recent
การคืนสู่สภาพเดิม (Revert)
ไฟล์ที่กำลังแก้ไข ถ้าต้องการคืนกลับสู่สภาพก่อนการแก้ไข ใช้คำสั่ง File, Revert
ปิดไฟล์
ไฟล์ที่สร้าง หรือเปิดอยู่ หากต้องการปิดไฟล์ สามารถใช้คำสั่ง File, Close หรือ File, Close All ทั้งนี้ไฟล์ที่ยังไม่ได้ผ่านการบันทึก โปรแกรมจะแสดงกรอบเตือน ถ้าต้องการบันทึกไฟล์ก่อนปิด ก็คลิกปุ่ม Yes เพื่อเข้าสู่โหมดการบันทึกไฟล์ แต่ถ้าต้องการปิดไฟล์โดยไม่บันทึกก็คลิกปุ่ม No หรือคลิกปุ่ม Cancel เพื่อยกเลิกการปิดไฟล์ กลับสู่จอภาพสร้างงานตามปกติ